การบ้าน

การบ้านหรืองานมอบหมาย หมายถึงงานที่ครูหรืออาจารย์มอบหมายให้นักเรียนหรือนักศึกษาทำให้สำเร็จนอกห้องเรียน การบ้านทั่วไปอาจประกอบด้วย ระยะเวลาให้นักเรียนได้อ่านเพิ่มเติม และแสดงออกผ่านการเขียนหรือการพิมพ์, การแสดงออกถึงทักษะในการแก้ปัญหา, การเขียนโครงงาน หรือการฝึกฝนทักษะอื่น ๆ

เป้าหมายและวัตถุประสงค์[แก้]

เป้าหมายพื้นฐานของการสั่งการบ้านเป็นเช่นเดียวกับการเรียนการสอนในห้องคือ เพื่อเพิ่มพูนทักษะ พัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะของผู้เรียน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต่อต้านการสั่งการบ้านกลับมองว่า การบ้านนั้นเป็นแค่การยัดเยียดความรู้ให้ผู้เรียน โดยไม่ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหา เป็นงานหยาบๆ ที่ออกแบบมาเพื่อขโมยเวลามาจากเด็กโดยไม่ก่อประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม[1] การบ้านอาจจะถูกออกแบบมา เพื่อเพิ่มเติมในสิ่งที่นักเรียนได้เรียนไปแล้ว[2] และเตรียมตัวให้ผู้เรียนพร้อมต่อบทเรียนถัดไปที่ยากขึ้น และซับซ้อนมากขึ้น, เพิ่มเติมความรู้ให้ผู้เรียน โดยการประยุกต์ใช้ความรู้ต่อสถานการณ์ต่างๆ หรือ การสนธิความรู้ในหลายๆแขนงในการแก้ปัญหาเพียงปัญหาเดียว การบ้านยังคงสร้างโอกาสให้ ผู้ปกครองได้ติดตามดูแลการเรียนของลูกได้อีกด้วย

จำนวนที่ต้องการ[แก้]

จากการศึกษาผ่านงานวิจัยมากกว่า 60 ฉบับ พบว่า จำนวนของการบ้าน และสิ่งที่ผู้เรียนได้รับนั้นมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ผลลัพธ์จากการวิจัยพบว่า การให้การบ้านมากเกินไป กลับส่งผลลบต่อความสามารถของผู้เรียนอย่างรุนแรง การสั่งการบ้านมากเกินไปจะทำให้เด็กหยุดคิด งานวิจัยนี้สนับสนุน "กฎ 10 นาที" โดยการให้การบ้านเด็ก 10นาทีต่อคืนต่อระดับการศึกษาของเด็ก โดย เด็ก ป.1 ควรได้รับการบ้าน 10นาทีต่อคืน ในขณะที่เด็ก ป.5 ควรได้รับงาน 50 นาที ต่อคืน หรือ เด็ก ม.3 90 นาทีต่อคืน อีกแนวคิดหนึ่งเสนอเข้ามา คือไม่ต้องมีการบ้าน เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาและนักเรียนได้มีเวลาพักผ่อนอย่างเต็มที่ เวลาเรียนควรให้งานทำให้เสร็จภายในชั่วโมงเรียน หรือถ้างานไม่เสร็จควรให้ต่อในชั่วโมงหน้าเพื่อนักเรียนจะได้มีเวลาสอบถามอาจาร์ยได้ ไม่ใช่มีการบ้านให้มาแล้วนักเรียนจะไปถามใคร เดือดร้อนพ่อแม่อีก ทำให้ถูกส่งไปเรียนพิเศษ เวลาเรียนจึงเพิ่มขึ้นเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับพ่อแม่ แนวคิดนี้ได้มาจากความคิดของนักเรียนที่เครียดกับการบ้านจนจบการศึกษาและถึงเวลาเป็นพ่อแม่ อยากให้ยุติคือ การไม่มีการบ้าน [3]

กลยุทธ์[แก้]

เป็นธรรมดาที่การมีทักษะการเรียนที่มีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้ทำการบ้านได้เร็วขึ้น และทำให้นักเรียนมีเวลาว่างมากขึ้น นักเรียนอาจหาทางออกโดยการลอกการบ้านเพื่อนส่งอาจารย์
กรณีที่ครูอาจารย์สั่งงานปากเปล่า หรือเขียนไว้บนกระดาน นักเรียนอาจลืมหรือจำผิดได้ ปัญหานี้แก้ได้โดยการจดบันทึกอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ในสมุดบันทึก, สมุดวางแผน มีการแนะนำวิธีนี้แก่นักเรียนเพื่อป้องกันโอกาสลืมทำการบ้าน[4]
ถ้านักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการบ้าน จะทำการบ้านด้วยความสนุกสนาน และโดยมากทำการบ้านเสร็จได้เร็วกว่านักเรียนที่มองการบ้านในแง่ลบ ความเกียจคร้านและการต่อต้านจะทำให้การทำการบ้านใช้เวลานานขึ้น การลดการรบกวน[5] โดยการทำการบ้านในห้องที่เงียบ, ปิดโทรทัศน์ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ใช้สมาธิในการทำการบ้านได้เต็มที่ ทำได้เร็วและมีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานว่าวิทยุลดสมาธิในการทำการบ้านลง ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่วิทยุมีแต่เสียง ไม่มีภาพมาดึงความสนใจไป [5]
อีกหนึ่งวิธีก็คือ การทำการบ้านให้ได้มากที่สุดตั้งแต่ยังอยู่ที่โรงเรียน โดยอาศัยเวลาว่างช่วงเช้า, พักกลางวัน หรือช่วงระหว่างเปลี่ยนคาบ ซึ่งจะช่วยลดเวลาทำการบ้านที่บ้านลง แต่อย่างไรก็ตาม วิธีนี้มีผลเสียคือเด็กอาจจะไม่ได้กินอาหารกลางวัน หรืออาจจะไม่ตั้งใจเรียนเนื่องจากทำการบ้านวิชาอื่นในชั้นเรียน

กลยุทธ์สำหรับผู้ปกครอง[แก้]

การเข้ามาดูแลช่วยเหลือเด็กทำการบ้านของผู้ปกครอง จะช่วยส่งผลดีต่อกระบวนการทำการบ้าน แต่การเข้ามาวุ่นวายมากเกินไป กลับส่งผลร้ายต่อตัวเด็กเอง [6]
ผู้ปกครองยังสามารถช่วยจัดตารางเวลา และจัดเตรียมสถานที่ทำการบ้านให้ได้ โดยสถานที่ที่เหมาะสมควรจะต้องเงียบ ทำให้สามารถรวมสมาธิทำการบ้านได้อย่างเต็มที่ ห้องที่มีพื้นเรียบ, ไฟสว่างเพียงพอ, มีอุปกรณ์เครื่องเขียนครบครัน และมีพจนานุกรม เป็นสิ่งสำคัญมาก
ครูต้องการจะรู้ถึงความเข้าใจของเด็ก และความสามารถที่จะทำงานได้อย่างเป็นอิสระ ปราศจากความช่วยเหลือ, มักจะแนะนำผู้ปกครองไม่ให้ทำการบ้านให้เด็ก, ไม่ให้แก้การบ้านให้เด็ก และไม่ให้เขียนให้เด็กลอกตาม เกรด หรือคะแนนจากครู ควรจะเป็นสิ่งชี้บ่งถึงความสามารถของตัวเด็กเอง ไม่ใช่ความสามารถของผู้ปกครอง หรือการทำงานร่วมกันของเด็กและผู้ปกครอง
อย่างไรก็ตาม บางครั้ง ครูอาจจะให้การบ้านที่เกินความสามารถของเด็กที่จะทำได้ด้วยตัวเอง เพื่อที่จะให้ผู้ปกครองเข้ามาช่วยเหลือเด็กนักเรียนเช่นกัน
การเรียนรู้ด้วยตัวเอง สมควรจะได้รับการปฏิบัติใช้ และพัฒนาโดยการแนะนำเด็ก เช่น แนะนำวิธีการหาข้อมูลคำตอบ หรือวิธีการใช้พจนานุกรม มากกว่าการบอกคำตอบให้เด็ก
การให้เด็กอ่านออกเสียง สามารถช่วยให้ผู้ปกครอง ช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดให้เด็ก และทำให้ทักษะการอ่านดียิ่งขึ้น
การที่ผู้ปกครองทำการบ้านไปพร้อมๆ กับเด็ก นอกจากจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็กแล้ว ยังช่วยให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการทำการบ้านอีกด้วย
หนึ่งในกุญแจที่ผู้ปกครองสามารถทำได้คือ การเจรจากับครูถ้าการบ้านนั้น เยอะเกินไป หรือ ไม่เหมาะสมต่ออายุของนักเรียน การเจรจาต่อรองนี้ อาจจะกระทำได้โดยการคุยกับครูตัวต่อตัว หรือผ่านเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน หรือร่วมมือกับผู้ปกครองท่านอื่น หรือ สมาคมผู้ปกครองและครู เพื่อลดปริมาณการบ้านที่เกินไปให้กับเด็กทั้งห้อง หรือโรงเรียน

ประสิทธิภาพของการสอนและการบ้าน[แก้]

การบ้านจะช่วยพัฒนาความสามารถ เมื่อการบ้านนั้นมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน อีกทั้งพ้องต่อความสามารถของเด็กแต่ละคน และเนื้อหาที่สอนในบทเรียนนั้นๆ การให้ข้อเสนอแนะ/ความเห็นต่อการบ้าน จะเพิ่มประสิทธิภาพของการบ้านได้ โดยเฉพาะเมื่อตอบสนองอย่างเหมาะสม (ภายใน 24 ชั่วโมง) การตอบสนองต่อการบ้าน ช่วยแก้ไขข้อเข้าใจผิด, ทำให้กระบวนการสอนดำเนินต่อไป และชี้จุดผิดพลาดในกระบวนการคิด การเขียนข้อแนะนำ จะช่วยให้ผลตอบรับส่งผลได้ดียิ่งขึ้นกว่าเพียงการให้คะแนน การบ้านควรจะทำให้มีประสิทธิภาพอย่างจริงจัง การทำให้เด็กเข้าใจในเนื้อหาได้ 50% จะมาจากการทำการบ้านเพียง 4 ครั้ง แต่การทำให้เด็กเข้าใจในเนื้อหาได้ 80% อาจจะต้องให้ฝึกฝนถึง 28 ครั้ง [8]
นอกจากนี้ ครูอาจจะกระตุ้นผู้ปกครองให้เห็นความสำคัญของการบ้านอีกโสตหนึ่ง เพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้โอกาสผู้ปกครองได้คุ้นเคยกับแบบเรียน และพัฒนาการของเด็ก อีกทั้งอาจจะกระตุ้นให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการบ้านของเด็กอีกด้วย [9] ข้อความ ไม่ว่าจะด้วยคำพูดหรือโน้ตข้อความ มีแนวโน้มว่าจะหายระหว่างทาง หรือถูกบิดเบือน เมื่อครูใช้นักเรียนเป็นผู้นำสารไปมอบให้ผู้ปกครอง การสื่อสารกับผู้ปกครองโดยตรงย่อมจะมีประสิทธิภาพมากกว่า อีกทั้งยังป้องกันการเกิดความเข้าใจผิดได้ในทุกกรณีอีกด้วย วิธีการที่สามารถสื่อผลตอบสนองไปถึงผู้ปกครองได้ คือการรายงานผ่านการบ้าน (ถึงทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง) รวมทั้งผ่าน โทรศัพท์จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือกระทู้บนอินเทอร์เน็ต

วิพากษ์[แก้]

จำนวนครู, นักเรียน และผู้ปกครองที่ต่อต้านการทำการบ้าน หรืออย่างน้อย จำกัดปริมาณการทำการบ้านนั้น กำลังเพิ่มมากขึ้น เหตุผลหลักคือความเชื่อที่ว่า นักเรียนเองก็เรียนได้จากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ที่นอกเหนือไปจากตำราเรียนในห้อง การใช้เวลาทั้งวันในห้องเรียน และเกือบทั้งคืนเพื่อการเรียน จะทำให้นักเรียนขาดการปฏิสัมพันธ์ ขาดเวลาว่าง ขาดการออกกำลังกาย และไม่มีโอกาสได้สัมผัสประสบการณ์พิเศษนอกเหนือจากตำรา ความสามารถพิเศษและความสนใจเฉพาะของนักเรียน ไม่สามารถสร้างได้ในห้องเรียน โดยการเจาะจงเฉพาะไปที่วิชาบางวิชา
มากไปกว่านั้น จากการวิจัยพบว่า การบ้านนั้น มีคุณค่าทางการศึกษาน้อยนิด และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 14 ปี ว่าการบ้านกลับส่งผลลบต่อการเรียนรู้

วิพากษ์[แก้]

จำนวนครู, นักเรียน และผู้ปกครองที่ต่อต้านการทำการบ้าน หรืออย่างน้อย จำกัดปริมาณการทำการบ้านนั้น กำลังเพิ่มมากขึ้น เหตุผลหลักคือความเชื่อที่ว่า นักเรียนเองก็เรียนได้จากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ที่นอกเหนือไปจากตำราเรียนในห้อง การใช้เวลาทั้งวันในห้องเรียน และเกือบทั้งคืนเพื่อการเรียน จะทำให้นักเรียนขาดการปฏิสัมพันธ์ ขาดเวลาว่าง ขาดการออกกำลังกาย และไม่มีโอกาสได้สัมผัสประสบการณ์พิเศษนอกเหนือจากตำรา ความสามารถพิเศษและความสนใจเฉพาะของนักเรียน ไม่สามารถสร้างได้ในห้องเรียน โดยการเจาะจงเฉพาะไปที่วิชาบางวิชา
มากไปกว่านั้น จากการวิจัยพบว่า การบ้านนั้น มีคุณค่าทางการศึกษาน้อยนิด และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 14 ปี ว่าการบ้านกลับส่งผลลบต่อการเรียนรู้

ประวัติศาสตร์ของการบ้าน[แก้]

ในสหรัฐอเมริกา[แก้]

โดยประวัติศาสตร์ การบ้านเป็นผลพวงจากวัฒนธรรมอเมริกัน ด้วยจำนวนนักเรียนเพียงไม่กี่คนที่สนใจในการศึกษาระดับที่สูงกว่า และเพื่อที่จะทำงานประจำวัน การบ้านถูกลดความสำคัญลง ไม่เพียงแค่โดยผู้ปกครอง แต่ยังรวมไปถึงศึกษาธิการเขต ในปี พ.ศ. 2444, รัฐสภาแห่งรัฐแคลิฟอเนีย ผ่านกฎหมายไม่ให้มีการให้การบ้านแก่นักเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลไปจนถึงระดับ 8 แต่ในคริสต์ทศวรรษ 1950 (ระหว่าง พ.ศ. 2493-2503) อิทธิพลจากการแข่งขันในสงครามเย็นกดดันให้อเมริกาให้ความสำคัญแก่การบ้านอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เยาวชนอเมริกันมีความสามารถมากกว่าหรือเทียบเท่ากับรัสเซียคู่แข่ง แต่หลังสิ้นสุดสงครามเย็นใน พ.ศ. 2534 ยังมีการสั่งการบ้านให้นักเรียนทำอย่างมากในการศึกษาทุกระดับชั้น[12]
จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน ในปี พ.ศ. 2550 สรุปได้ว่าปริมาณการบ้านเพิ่มขึ้นตามเวลา ในกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มขึ้นมาในเด็กอายุระหว่าง 6 ถึง 9 ปี แสดงให้เห็นว่า เด็กใช้เวลาทำการบ้านมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในขณะที่ในปี พ.ศ. 2524 เด็กใช้เวลาทำการบ้านเพียง 44 นาที 

Comments

Popular posts from this blog